สวิตซ์เป็นอุปกรณ์ใช้ปิด – เปิด วงจรไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สวิตซ์จะทำหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าภายในวงจร สวิตซ์มีหลายรูปแบบ การเลือกใช้สวิตซ์ต้องเลือกค่าทนกระแสและแรงดันไฟให้เหมาะสมกับงานหรือวงจร ในงานอิเล็กทรอนิกส์มีหลายรูปแบบ พอสรุปได้ดังนี้
1.1 สวิตซ์โยก (Toggle Switch) สวิตซ์โยก คือ สวิตซ์ที่ใช้ปิดเปิดวงจรด้วยการโยกขึ้น-ลง มีตั้งแต่ 2 ขา ถึง 6 ขา แบ่งตามลักษณะและโครงสร้างได้ดังนี้
1.1.1 สวิตซ์ทางเดียว ขั้วเดียว (Single Pole Single Throw) สวิตซ์แบบนี้เรียกย่อว่า SPST ปกติมี 2 ขา ใช้ทำหน้าที่ปิดเปิดวงจร
1.1.2 สวิตซ์ทางเดียว 2 ขั้ว (Double Pole Single Throw) สวิตซ์แบบนี้เรียกย่อว่า DPST มีขาใช้งาน 4 ขา ใช้ทำหน้าที่เปิด – ปิด วงจรได้ 2 ชุดพร้อมกัน
1.1.3 สวิตซ์ 2 ทาง ขั้วเดียว (Single Pole Double Throw) สวิตซ์แบบนี้เรียกย่อว่า SPDT มีขาใช้งาน 2 ขา ใช้ทำหน้าที่เปิด – ปิดวงจร การใช้ขา 2 ขาหรือจะใช้เป็นสวิตซ์เลือก 2 ทาง
ก็ได้
1.1.4 สวิตซ์ 2 ทาง 2 ขั้ว (Double Pole Double Throw) สวิตซ์แบบนี้เรียกว่า DPDT มีขาใช้งาน 6 ขา ใช้ทำหน้าที่ปิด – เปิดวงจร 2 ชุดพร้อมกัน โดยใช้ขา 4 ขา และสามารถใช้แทนสวิตซ์แบบทางเดียว 2 ขั้วได้ด้วย
ภาพที่ 1 แสดงรูปสวิตซ์โยกแบบต่าง ๆ
1.2 สวิตซ์กระดก (Rocker Switch) สวิตซ์แบบกระดกหรือเรียกว่า ล็อกเกอร์สวิตซ์ เป็นสวิตซ์ขนาดใหญ่ใช้เปิด – ปิด วงจร บางแบบมีหลอดไฟในตัวบางแบบไม่มีหลอดไฟ
ภาพที่ 2 แสดงรูปสวิตซ์แบบกระดก
1.3 สวิตซ์หมุน (Rotary Switch) เป็นสวิตซ์เลือกหลายทาง นิยมเรียกว่า สวิตซ์เลือก (Selector Switch) มากกว่าสวิตซ์หมุน แบบที่มีใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ คือ
1.3.1 แบบ 12 ทาง 1 ชุด แบบนี้หมุนได้ 11 จังหวะ มีขาต่อใช้งาน 13 ขา ขากลางจะเป็นขาร่วม
1.3.2 แบบ 6 ทาง 2 ชุด แบบนี้หมุนได้ 5 จังหวะ มีขาร่วม 2 ขาแยก ออกจากกันแต่เลือกได้พร้อมกัน
1.3.3 แบบ 4 ทาง 3 ชุด แบบนี้หมุนได้ 3 จังหวะ มีขาร่วม 3 ขาแยก ออกจากกันมีลักษณะเหมือนมีสวิตซ์ 4 ทาง 3 ตัวบนแกนเดียวกัน
1.3.4 แบบ 3 ทาง 4 ชุด แบบนี้หมุนได้ 2 จังหวะ มีขาร่วม 4 ขาแยก ออกจากกัน มีลักษณะเหมือนมีสวิตซ์ 3 ทาง 4 ตัวบนแกนเดียวกัน
ภาพที่ 3 แสดงที่ 3 แสดงรูปสวิตซ์หมุน หรือ สวิตซ์เลือก
ภาพสวิตซ์เลื่อย (Side Switch ) สวิตซ์จะมีลักษณ์เหมือนสวิตซ์โยก แต่ไม่มีแกนเหมือนสวิตซ์โยก ใช้ทำหน้าที่ปิด-เปิด วงจรเหมือนสวิตซ์โยก
ภาพที่ 4 แสดงรูปสวิตซ์เลื่อน
- สวิตซ์กด (PUSH SWITCH) สวิตซ์กดเวลาใช้งานจะต้องกดปุ่มหรือแกนที่ยื่นออกมาจากตัวสวิตซ์ ลักษณะการกดมีหลายลักษณะคือ
1.5.2 แบบกดดับปล่อยติด จะมีลักษณะการใช้งานตรงกันข้ามกับแบบกดติดปล่อยดับ นั่นคือ ถ้ากดปุ่มหรือแกนจะต่อวงจร ถ้าปล่อยจะตัดวงจร
1.5.3 แบบกดติดกดดับ สวิตซ์แบบนี้จะล็อกหน้าสัมผัสได้ ครั้งแรกถ้าสวิตซ์ไม่ต่อวงจร ถ้ากดปุ่มสวิตซ์จะต่อวงจร เมื่อปล่อยสวิตซ์ยังคงต่ออยู่ ต้องกดสวิตซ์ซ้ำอีกจึงจะทำให้วงจรเปิด สวิตซ์แบบนี้นิยมใช้เป็นสวิตซ์เปิดปิดแรงดันไม่ให้เข้าไปเลี้ยงวงจร
1.5.4 แบบกดหลายทาง เป็นสวิตซ์แบบกดติดปล่อยดับหลายตัว ต่อร่วมอยู่บนแกนเดียวกัน โดยมีกลไก ล็อกสวิตซ์แต่ละตัวเข้าด้วยกัน เพื่อนำมาใช้เป็นสวิตซ์เลือกหลายทางเมื่อกดสวิตซ์ตัวหนึ่ง ตัวที่เหลือจะหลุดออกมา สวิตซ์แบบนี้นิยมใช้เป็นสวิตซ์เลือกสัญญาณ ทางเข้าออกเครื่องขยายเสียง ทำเป็นสวิตซ์เลือกย่านวัดในเครื่องมือทดสอบ
1.5.5 แบบสวิตซ์เท้า เป็นสวิตซ์กดแบบหนึ่ง ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับแรงกดมาก ๆ เช่น ใช้เท้าเหยียบ นิยมนำไปใช้เครื่องทำเสียงแตก เครื่องสร้างเสียงเอฟเฟลกของกีตาร์ไฟฟ้ามีแบบกดล็อก และแบบกดติดปล่อยดับ
ภาพที่ 5 แสดงรูปสวิตซ์กดแบบต่าง ๆ
1.6 คีย์แพด (Keypad) คีย์แพดเป็นสวิตซ์ที่ต่ออยู่ในรูปเมตริกซ์ ตัวคีย์แพดจะประกอบด้วยหน้าสัมผัส แผ่นลาเบล ปิดชื่อคีย์ และสายต่อ นิยมใช้ในเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคิดเลข หรือเครื่องควบคุมอัตโนมัติ
แบบ 12 คีย์ แบบ 11 คีย์ แบบ 6 คีย์ แบบ 1 คีย์
ภาพที่ 6 แสดงรูปคีย์แพด
1.7 ไมโครสวิตซ์ (Micro Switch) ไมโครสวิตซ์เป็นสวิตซ์ที่มีความไวต่อการกดโดยมีแกนยื่นสำหรับให้กด เมื่อกดแกนแล้วแกนนี้จะไปกดหน้าสัมผัสของสวิตซ์อีกที่หนึ่งนิยมใช้ในเครื่อง เล่นเทป เครื่องมือระบบอัตโนมัติ และใช้ในระบบรักษาความปลอดภัย เครื่องกันขโมยภาพที่ 7 แสดงรูปไมโครสวิตซ์
ภาพที่ 8 รูปแสดงรูปดีพสวิตซ์
สัญลักษณ์ของสวิตซ์
การเลือกสวิตซ์ใช้งาน
สวิตซ์แต่ละแบบถูกออกแบบและสร้างเพื่อให้เหมาะสมกับ งานที่จะใช้ นอกจากการออกแบบแล้ว ผู้ผลิตยังบอกคุณลักษณะการทนกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าไว้ด้วย ดังนั้นการเลือกใช้สวิตซ์ต้องเลือกค่าทนกระแสและแรงดันไฟที่เหมาะสมกับงาน หรือวงจรการทดสอบสวิตซ์
สวิตซ์เป็นอุปกรณ์เปิด – ปิดวงจรไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สวิตซ์ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟในวงจร สวิตซ์มีหลายรูปแบบตามลักษณะการใช้งาน
การทดสอบสวิตซ์สามารถทดสอบได้ 2 วิธี ทดสอบขณะสวิตซ์ไม่ถูกใช้งานหรือถอดสวิตซ์ออกจากวงจรมาทดสอบ และทดสอบขณะสวิตซ์ทำงาน ในที่นี้จะกล่าวถึงการทดสอบสวิตซ์ไม่ถูกใช้งานด้วยมัลติมิเตอร์ดังนี้
1. เตรียมมัลติมิเตอร์ในตำแหน่ง x10
2. สายสีดำเสียบขั้วเสียบ – COM สายสีแดงเสียบขั้วเสียบ +
3. นำสายทั้งสองของมัลติมิเตอร์ ต่อคร่อมหรือขนานกับขั้วต่อของสวิตซ์
ภาพที่ 9 แสดงการทดสอบสวิตซ์
4. ทดลองเปิด – ปิดสวิตซ์ตามแบบของสวิตซ์ สังเกตเข็มของมัลติมิเตอร์ ดังนี้4.1 ถ้าเข็มของมิเตอร์กระดิกขึ้น – ลง ตามจังหวะการเปิด – ปิดของสวิตซ์ แสดงว่าสวิตซ์นำไปใช้เปิด – ปิดวงจรไฟฟ้าหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้
4.2 ถ้าเข็มของมิเตอร์ไม่กระดิกตามจังหวะการเปิด – ปิด แสดงว่าสวิตซ์เสียในลักษณะขาด
4.3 ถ้าเข็มของมิเตอร์กระดิกขึ้นตลอดเวลาที่ปิดหรือเปิด แสดงว่าสวิตซ์เสียในลักษณะลัดวงจร
ขอบคุณมากครับทำรายงานไฟฟ้าบล็อกนี้ช่วยได้เยอะเลย><
ตอบลบ