ขอขอบคุณข้อมูลจาก arip

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ตัวต้านทาน(Resistor)

ตัวต้านทาน(Resistor)
ตัวต้านทานเป็นตัวที่ทําหน้าที่จํากัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรตามทีได้กําหนดเอาไว้ซึ่งจะมี
สัญลักษณ์ที่ใช้เป็น ( R ) และค่าความต้านทานมีหน่วยวัดทางไฟฟ้าเป็น ( )
ชนิดของตัวต้านทาน
ตัวต้านทานที่ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่ (
Fixed Value Resistor ) และตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ ( Variable Value Resistor ) ซึ่งตัวต้านทานค่าคงที่นี้
จะมีค่าความต้านทานที่แน่นอน และเป็นค่าที่นิยมมากในงานด้านอิเล็กทรอนิกส์

สําหรับตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้นั้น จะสามารถเลือกค่าความต้านทานที่ต้องการได้โดยการหมุนที่
ปุ่มปรับค่าความต้านทาน

                                              สัญลักษณ์ของตัวต้านทาน
ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่แบ่งได้ดังนี้
ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม ( Carbon Composition Resistor)
ตัวต้านทานชนิดนี้จะนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งจะมีราคาถูก โครงสร้างภายในทําจากวัสดุซึ่งมี
คุณสมบัติเป็นตัวต้านทาน โดยที่ปลายทั้งสองข้างจะต่อลวดตัวนําออกมาและบริเวณผิวด้านนอกจะฉาบด้วย
ฉนวน มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก

ขนาดของตัวต้านทานจะแสดงถึงกําลังงาน ซึ่งอยู่ในรูปของความร้อนที่สามารถแพร่กระจายออกมา
ได้ ความต้านทานทําหน้าที่จํากัดการไหลของกระแสไฟฟ้าหรืออิเล็กตรอน ดังนั้นสภาวะของการต้านทาน
หรือขัดขวางการไหลของกระแสไฟฟ้านี้จึงเป็นสาเหตุทําให้เกิดความร้อนขึ้น โดยปริมาณความร้อนที่
แพร่กระจายออกมาเมื่อเปรียนเทียบกับหน่วยเวลาจะมีหน่วยเป็น วัตต์ (Watts) และตัวต้านทานแต่ละตัวจะมี
ค่า อัตราทนกําลัง (Wattage Rating) เฉพาะที่แตกต่างกันออกไป โดยตัวต้านทานขนาดใหญ่จะสามารถที่จะ
แพร่กระจายความร้อนได้ดีกว่า เช่น ตัวต้านทานขนาดใหญ่มีอัตราการแพร่กระจายความร้อน 2 วัตต์ ในขณะ
ที่ความต้านทานตัวเล็กสามารถกระจายความร้อนในอัตราแค่ 1/8 วัตต์

ค่าความเคลื่อน เป็นปัจจัยที่จะต้องพิจารณาอีกประการหนึ่งที่จะต้องพิจารณา ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อน
นี้เป็นปริมาณความผิดพลาดของค่าความต้านทานที่แตกต่างกันออกไปจากค่าที่กําหนดไว้ เช่น ค่าความ
ต้านทาน 1000 โอห์ม มีค่าความคลาดเคลื่อน 10 % ดังนั้นค่าความต้านทานที่วัดได้จะอยู่ระหว่าง 900 โอห์ม
และ 1100 โอห์ม
ตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน ( Carbon Film Resistor )
ตัวต้านทานชนิดนี้ถูกสร้างโดยการเคลือบแผ่นฟิล์มคาร์บอนที่มีคุณสมบัติของค่าความต้านทานลงบน
แกนเซรามิค ซึ่งทําหน้าที่เป็นฉนวน หลังจากนั้นให้ทําการตัดแต่งฟิล์มคาร์บอนที่ได้ให้เป็นรูปวงแหวนรอบ
แกนเซรามิค โดยถ้ามีอัตราส่วนของเนื้อคาร์บอนมีปริมาณมากกว่าฉนวนจะทําให้ค่าความต้านทานที่ได้มีค่า
ต่ํา แต่ถ้าฉนวนมีอัตราส่วนมากกว่าเนื้อของคาร์บอน ความต้านทานที่ได้ก็จะมีค่าสูง ตัวต้านทานแบบฟิล์ม
คาร์บอนจะมีค่าความคลาดเคลื่อนต่ํา และสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสูงได้ โดยไม่ทําให้ค่า
ความต้านทานเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนั้นสัญญาณรบกวนที่เกิดจากการใช้ตัวต้านทานชนิดนี้ก็มีค่าน้อย
กว่า เมื่อเปรียบเทียบกับตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม




ต่อบทที่ 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น