ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนค่าได้โดยใช้แสง
อุปกรณ์โฟโตริซิสเตอร์ ( Photoresistor ) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Light - Dependent Resistor ( LDR )
ซึ่งเป็นตัวต้านทานที่ทํางานโดยอาศัยแสงที่มาตกกระทบ นั่นคือ วัสดุที่ใช้ทําโฟโตริซิสเตอร์ เมื่อถูกแสงจะมี
ค่าความนํามากขึ้น หรือทําให้ค่าความต้านทานลดลงนั่นเอง โฟโตริซิสเตอร์สร้างจากวัสดุนําแสงที่มี
ลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งค่าความต้านทานของวัสดุนี้ลดลงเมื่อมีแสงมาตกกระทบ โดยพลังงานแสงจะถูก
ดูดซึมจากอะตอมที่มีอยู่มากมายในวัสดุนําแสงนี้และทําให้เกิดการปลดปล่อยอิเล็กตรอนที่อยู่วงนอกสุด (
Valence Electron ) ออกมา ด้วยเหตุผลของจํานวนอิเล็กตรอนอิสระมากขึ้น จึงทําให้กระแสไฟฟ้าสามารถ
ไหลผ่านโฟโตริซิสเตอร์ได้มาก ดังนั้นจึงทําให้ความต้านทานมีค่าลดลงด้วย
การนําอุปกรณ์โฟโตริซิสเตอร์ไปใช้งาน เช่น การนําไปใช้ในอุปกรณ์ปิดเปิด ไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร
โดยใช้เวลาช่วงกลางวัน แสงสว่างจากดวงอาทิตย์จะทําให้ค่าความต้านทานของโฟโตริซิสเตอร์ไปลดลง
และค่าความต้านทานที่ลดลงนี้จะถูกนําไปใช้ในการปิดไฟส่องสว่าง ส่วนในช่วงเวลากลางคืนค่าความ
ต้านทานของโฟโตริซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้น ไฟส่องสว่างจะเปิดอีกครั้ง

กําลังไฟฟ้า
กําลังไฟฟ้าในตัวต้านทานเกิดขึ้นเมื่อมีกระแสไหลผ่านตัวต้านทาน โดยกําลังไฟฟ้านี้จะมีหน่วย
เป็น วัตต์ (Watt) ซึ่งตัวต้านทาน ที่มีใช้กันก็มีขนาดตั้งแต่ 1/8 วัตต์ ไปจนถึงหลายร้อยวัตต์ ถ้าเราใช้ตัว
ต้านทานที่มีกําลังไฟฟ้าต่ํากว่ากําลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจริงในวงจร ก็อาจจะทําให้ตัวต้านทานร้อนจนอาจะ
ไหม้ได้ แต่ในวงจรบางแบบก็ต้องการให้ความร้อนนี้เกิดขึ้นมา เช่น ในอุปกรณ์ทําความ ร้อนฮีทเตอร์(heater) ตัวกําเนิดความร้อนก็คือ ตัวต้านทานที่กําลังสูง ซึ่งทํามาจากลวดนิโครม กําลังไฟฟ้านี้จะเกิด
จาก เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวด แต่ในวงจรวิทยุความร้อนที่เกิดจากตัวต้านทานนั้นไม่ดี
เพราะฉะนั้น วงจรก็ต้องมีการเลือกตัวต้านทานให้มีอัตราทน กําลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับวงจร ในรูปที่
3 เป็นรูปของตัวต้านทานขนาดต่างๆ ที่สามารถพบได้ทั่วไป

เราจะรู้ค่าความต้านทานได้อย่างไร
ตัวต้านทานโดยทั่วไปจะมีการบอกค่าความต้านทานไว้เป็นแถบสี ซึ่งจะมีวิธีอ่านแถบสีดังในรูปที่
4 และในรูปที่ 5 เป็นตัวอย่าง ของค่าความต้านทานที่เราสามารถอ่านค่าได้ เป็นค่าตัวต้านทานมาตรฐาน
ที่มีขายอยู่ทั่วไป

การแสดงการอ่านค่าสีของตัวต้านทานแบบค่าคงที่โดยอ่านเรียงสีจากซ้ายไปขวา

เป็นตัวอย่างการอ่านค่าความต้านทานโดยอ่านจากซ้ายไปขวา
การต่อตัวต้านทานแบบต่าง ๆ
การต่อตัวต้านทานในวงจร สามารถทําได้ 2 แบบ ได้แก่ คือ การต่อแบบอันดับหรือ (แบบอนุกรม)
และการต่อขนาน
การต่อตัวต้านทานแบบอันดับหรืออนุกรม(Series)
ค่าความต้านทานรวมที่เกิดจากนําตัวต้านทานมาต่อกันแบบอันดับจะมีค่าเท่ากับผลรวมของ ค่า
ความต้านทานของตัวต้านทานทุกตัวรวมกัน สูตรที่ใช้ในการคํานวณหาค่าความต้านทานที่ต่อกันแบบ
อันดับ

ตัวอย่าง
จากวงจรในรูป จงคํานวณหาค่าความต้านทานรวม

<< กลับไปหน้าแรก