เครื่องมือวัดไฟฟ้ามีหลายประเภท ที่มีใช้และเห็นกันบ่อย ๆ เช่น แอมป์มิเตอร์ โวลท์มิเตอร์และ มัลติมิเตอร์ ฯลฯ แต่เครื่องมือวัดที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่ มัลติมิเตอร์ เนื่องจากใช้ง่าย ราคาถูก และ สามารถใช้ได้เอนกประสงค์ สามารถใช้วัดได้ทั้ง กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า นับเป็นเครื่องมือวัดขั้นพื้นฐานที่ช่างไฟฟ้า จะต้องมีไว้ใช้งาน และจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งาน 1.ส่วนประกอบของมัลติมิเตอร์ มัลติมิเตอร์มีส่วนประกอบภายนอกสำหรับใช้งานที่คล้ายคลึงกัน หมายเลข 1 คือ หน้าปัดสเกล หมายเลข 2 คือ เข็มชี้ หมายเลข 3 คือ สกรูปรับเข็มให้ตรง 0 หมายเลข 4 คือ ปุ่มปรับค่า 0 หมายเลข 5 คือ ย่านและประเภทของค่าที่จะวัด หมายเลข 6 คือ สวิทช์เลือกย่านและประเภท หมายเลข 7 คือ รูสำหรับเสียบสายต่อขั้วลบ หมายเลข 8 คือ รูสำหรับเสียบสายต่อขั้วบวก หน้าปัดสเกล เนื่องจากมัลติมิเตอร์สามารถวัดค่าทางไฟฟ้าได้หลายอย่าง ดังนั้นที่หน้าปัดจะมีสเกลของค่าต่างๆ แยกจากกัน เมื่อวัดอ่านค่า จำเป็นต้องเลือกสเกลที่จะอ่านให้ถูกต้อง จากรูปจะเห็นว่า - เมื่อวัดความต้านทานต้องอ่านค่าจากสเกล - เมื่อวัดแรงดันหรือกระแสไฟตรงต้องอ่านค่าจากสเกล DCV.A - เมื่อวัดแรงดันไฟสลับต้องอ่านค่าจากสเกล ACV หรือ AC 3V Only - เมื่อวัดกระแสไฟสลับต้องอ่านค่าจากสเกล ACA - เมื่อวัดขนาดของสัญญาณต้องอ่านค่าจากสเกล dB เข็มชี้ เป็นตัวชี้ค่าที่วัด ซึ่งการอ่านค่าต้องอ่านในแนวตั้งฉากกับหน้าปัดและเข็ม ถ้าอ่านจากด้านข้างจะทำให้การ อ่านค่าผิดพลาด สกรูปรับเข็ม ในเวลาปกติก่อนทำการวัดเข็มจะต้องชี้ค่า 0 ทางด้านซ้ายมือแต่ถ้าเข็มไม่ชี้ค่า0 สามารถทำได้โดย การใช้ไขควงปรับสกรูจนกระทั่งเข็มชี้ตรง 0 ปุ่มปรับค่า เมื่อทำการวัดค่าความต้านทานและต้องการอ่านค่าที่ถูกต้อง ต้องทำการปรับให้เข็มชี้ค่า ทางด้านขวาซึ่งการปรับจะต้องนำสายวัดมาแตะกัน และทำการหมุนปุ่มจนกระทั่งเข็มชี้ค่า ย่านและประเภทของค่าที่จะวัด ก่อนทำการวัด จะต้องทราบก่อนว่าจะทำการวัดแรงดันหรือกระแสหรือ ความต้านทาน และถ้าเป็นการวัดแรงดันหรือกระแส ต้องทราบต่อไปว่า เป็นไฟตรงหรือไฟสลับและค่าประมาณ ที่จะวัด ในกรณีไม่สามารถประมาณหรือทราบค่าที่จะวัดให้ทำการตั้งย่านวัดสูงสุดไว้ก่อน มัลติมิเตอร์ที่มีย่านและประเภทการวัด ซึ่งสามารถวัดค่าต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. แรงดันไฟตรง 120 mV 3V 12V 120 V 300 V และ 1200 V 2. กระแสไฟตรง 30 A 3mA 30mA และ 0.3A 3. แรงดันไฟสลับ 3V 30V 120V 300V และ 1200V 4. กระแสไฟสลับ 12A 5. ความต้านทาน RX 1 RX10 RX1K และ RX10K สวิทช์เลือกย่านและประเภท เป็นสวิทช์เลือก (Selector switch) ที่ทำหน้าที่ต่อวงจรภายในมิเตอร์ ทำให้สามารถวัดค่าต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ตามย่านและประเภท ดังนั้นเมื่อต้องการวัดค่าอะไร มีค่าสูงสุดเท่าไรให้ทำ การบิดสวิทช์ไปตำแหน่งนั้น ๆ รูสำหรับเสียบสายต่อขั้วลบและขั้วบวก เป็นรู สำหรับเสียบสาย ที่ใช้ในการวัด จะมีสายสีดำและ สีแดง สายสีดำจะเสียบเข้ากับรู Common(มักเขียนสั้น ๆ ว่า Com.)หรือรูลบ (-) ส่วนสายสีแดงจะเสียบเข้ากับรูบวก(+) นอกจากนี้ในมัลติมิเตอร์บางแบบจะมีรู Out (+) ซึ่งใช้สำหรับเสียบสายสีแดงเมื่อทำการวัดขนาดของสัญญาณ(dB) และยังอาจมีรูเสียบอื่นๆ ตามการใช้งานของมัลติมิเตอร์ ดังนั้นเมื่อจะใช้งานต้องทำการศึกษาคู่มือการใช้อย่างระมัด ระวังและละเอียดรอบคอบ การอ่านค่าจากหน้าปัด ในการอ่านค่าจากหน้าปัด จะต้องพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างย่านและประเภท กับค่าที่อ่านจากสเกล กล่าวคือ 1. ต้องทราบว่าขณะทำการวัดได้ตั้งย่านวัดสูงสุดเท่าไร เป็นค่าทางไฟฟ้าแบบไหน (แรงดันไฟตรง แรงดันไฟสลับ กระแสไฟตรง เป็นต้น 2. ต้องเลือกสเกลที่จะอ่านได้ถูกต้อง จากนั้นต้องหาแฟคเตอร์ในการคูณเข้ากับค่าที่อ่านได้จากสเกล ซึ่งแฟคเตอร์(f ) สามารถหาได้จาก การอ่านค่าเมื่อทำการวัดแรงดันไฟตรง
จากหน้าปัดข้างบน ถ้าตั้งสวิทช์เลือกที่ย่านวัด 12 V ผลจากการวัดจะมีค่าเท่ากับ 70 X 0.1 = 7 V การอ่านค่าเมื่อทำการวัดแรงดันไฟสลับ
จากหน้าปัดข้างบน ถ้าตั้งสวิทช์เลือกที่ย่านวัด 30 V ผลจากการวัดจะมีค่าเท่ากับ 22 X1 = 22 V การอ่านค่าเมื่อทำการวัดกระแสไฟตรง
การอ่านค่าเมื่อทำการวัดกระแสไฟสลับ
|
แนะนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เบื้อง เทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับคอม การสร้างเว็บไซต์จากจูมล่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก arip
วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553
มัลติเตอร์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น