ขอขอบคุณข้อมูลจาก arip

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รีเลย์ (Relay)

รีเลย์ (Relay)
            รีเลย์เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับปิด – เปิด วงจรเช่นเดียวกับสวิตซ์ แต่การทำงานของรีเลย์ทำงานด้วยการให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปในขดลวดของรีเล ย์ ทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กดูด ขั้วโลหะของรีเลย์ติดหรือขาดออกจากกัน ทำให้วงจรต่อกันหรือขาดออกจากกันเหมือนการปิดเปิดวงจรด้วยสวิตซ์





ภาพที่ 10  แสดงรูปของรีเลย์
สัญลักษณ์ของรีเลย์
    

ชนิดปกติ
เปิดหน้าสัมผัส
ชนิดปกติ
ปิดหน้าสัมผัส
รีเลย์พร้อม
หน้าสัมผัส 1 ชุด
รีเลย์ 1 ชุด หน้าสัมผัส
มีทั้งเปิดและปิด

 

การนำรีเลย์ไปใช้งาน
            รีเลย์นิยมนำไปใช้งานในวงจรป้องกันวงจรตัดต่อไฟเข้าไป ในวงจร  และช่องทางการสนทนาในตู้โทรศัพท์ใช้เป็นอิเล็กทรอนิกส์สวิตซ์ การเลือกใช้รีเลย์ต้องคำนึงถึงค่าที่สำคัญ 3 ประการ คือ
                1.  อัตราทนกำลังไฟของหน้าสัมผัส เป็นตัวบอกถึงขนาดของโหลดสูงสุดที่จะต่อให้กับรีเลย์ ตัวอย่างเช่น รีเลย์ตัวหนึ่งมีขนาดแรงดันไฟ 12 โวลต์ กระแส 3 แอมแปร์ นั่นคือ โหลดที่นำมาต่อต้องใช้กระแสไฟไม่เกิน 3 แอมแปร์ ถ้าแรงดันที่จ่ายให้แก่โหลด 220 โวลต์ โหลดที่นำมาต่อต้องมีขนาดไม่เกิน 600 วัตต์
                2.  ความต้านทานของขดลวดรีเลย์ เป็นตัวบอกถึงความต้องการกระแสของรีเลย์ขณะทำงาน
                3.  แรงดันที่กระตุ้นให้รีเลย์ทำงาน เป็นค่าแรงดันสูงสุดที่ต้องป้อนให้กับขดลวดของรีเลย์
ตัวอย่างเช่น รีเลย์ 12 โวลต์ 3 แอมแปร์ ต้องต่อแรงดันไฟให้รีเลย์ 12 โวลต์ และไม่ต่ำกว่า 10 โวลต์ ถ้าป้อนแรงดันให้กับรีเลย์น้อยจะทำให้ขดลวดของรีเลย์ร้อน อาจทำให้อายุการใช้งานของรีเลย์สั้นลง ทางที่ดีควรป้องกันแรงดันให้ตรงตามที่กำหนดได้

3.  ฟิวส์ (Fuse)
            ฟิวส์เป็นตัวนำไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์  ฟิวส์มีหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้า  เมื่อมีกระแสไฟไหลเกินกำหนดเพื่อไม่ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เสียหาย ฟิวส์ที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์   มีรูปแบบและตัวถังหลายแบบฟิวส์นอกจากแบ่งตามตัวถังแล้วยังแบ่งตามคุณลักษณะ การใช้งานเป็น 2 ชนิด คือ
                      2.1  ฟิวส์ถ่วงเวลา ใช้ป้องกันกระแสไฟไหลอย่างรุนแรงขณะต่อสวิตซ์ ฟิวส์แบบนี้มีความไวต่อความร้อนมาก สามารถถ่วงเวลาได้ประมาณ 18 วินาที จากการปล่อยกระแสเริ่มแรกถึงกระแสไหลสูงสุด
                      2.2  ฟิวส์ทำงานอย่างรวดเร็ว ใช้ในวงจรที่มีกระแสไฟไหลปกติ ถ้ามีกระแสไฟไหลเกินค่าความสามารถในการทนกระแสไฟของฟิวส์ ฟิวส์ก็จะขาดหรือละลายทันภายในเวลา   1.4 วินาที





ภาพที่ 11  แสดงรูปฟิวส์และกระบอกฟิวส์
สัญลักษณ์ของฟิวส์


                                                                
การเลือกฟิวส์ใช้งาน
                การเลือกฟิวส์ใช้งานเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องคำนึงถึง โดยเลือกฟิวส์ใช้งานดังนี้
1.    ความสามารถในการทนกระแสและแรงดันไฟฟ้าต้องใช้ฟิวส์ที่มีความสามารถทนกระแส และแรงดันไฟฟ้าพอดีกับวงจรไฟฟ้ากำหนด ถ้าหาค่าทนกระแสและแรงดันไฟฟ้าไม่ได้  อาจใช้ค่าที่เกินกว่าปกติเล็กน้อย  เช่น มีค่าแรงดันไฟฟ้าในวงจร 125 โวลต์  
ให้ใช้ฟิวส์ได้ไม่เกิน 150 โวลต์   สำหรับค่าทนกระแสไฟให้ใช้ได้สูงกว่ากระแสในวงจร 25 เปอร์เซ็นต์
                2.  การทนกระแสไฟลัดวงจรของฟิวส์ ตามปกติค่าทนกระแสไฟลัดวงจรของฟิวส์จะกำหนดเป็นพันเท่าของกระแสไฟปกติ บางครั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลัดวงจร จึงควรเลือกความสามารถในการทนกระแสลัดวงจรของฟิวส์ด้วย
                3.  คุณสมบัติของฟิวส์ เช่น อุณหภูมิ รูปร่าง ขนาดที่ยึดตัวฟิวส์ กระบอกฟิวส์ ต้องเลือกให้เหมาะสม
การทดสอบฟิวส์
                ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับวงจร ในกรณีที่มีการลัดวงจรเกิดขึ้นหรือมีกระแสไฟฟ้าไหลมาก เกินความสามารถของฟิวส์
                การทดสอบฟิวส์เพื่อต้องการรู้ว่าขดลวดตัวนำที่อยู่ภายในโครงสร้างของฟิวส์ ขาดหรือไม่  ทดสอบได้ด้วยมัลติมิเตอร์ ดังนี้
                1.  เตรียมมัลติมิเตอร์ในตำแหน่งวัดค่าความต้านทาน R X 1
                2.  สายสีดำเสียบขั้วเสียบ – COM สายสีแดงเสียบขั้วเสียบ +
                3.  นำสายทั้งสองของมัลติมิเตอร์วัดคร่อมขั้วทั้งสองของฟิวส์






ภาพที่ 12  แสดงการทดสอบฟิวส์
                4.  สังเกตเข็มของมัลติมิเตอร์ ดังนี้
                      4.1  ถ้าเข็มของมัลติมิเตอร์กระดิกขึ้น แสดงว่าฟิวส์ดี
                      4.2  ถ้าเข็มของมัลติมิเตอร์ไม่กระดิก แสดงว่าฟิวส์ขาด


บทสรุป
            สวิตซ์เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับปิด – เปิดวงจรไฟฟ้าหรือวาจรอิเล็กทรอนิกส์ สวิตซ์มีหลายรูปแบบการเลือกใช้สวิตซ์ต้องเลือกให้เหมาะสมกับงานหรือวงจร สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึง คือ เลือกค่าทนกระแสและแรงดันไฟฟ้า
            รีเลย์ เป็นอุปกรณ์ใช้ปิด – เปิดวงจรเช่นเดียวกับสวิตซ์ แต่รีเลย์จะทำการปิด – เปิดวงจรได้ ต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดของรีเลย์   ทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กดูดขั้วโลหะของรีเลย์ติดหรือขาดออกจากกัน เหมือนกับการปิด – เปิดวงจรด้วยสวิตซ์ การเลือกรีเลย์ใช้งานต้องคำนึงถึง
                1.  อัตราทนกำลังไฟของหน้าสัมผัสของรีเลย์
                2.  ความต้านทานของขดลวดรีเลย์เป็นตัวบอกถึงความต้องการกระแสไฟของรีเลย์ขณะทำงาน
                3.  แรงดันที่กระตุ้นให้รีเลย์ทำงาน
                ฟิวส์ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไฟฟ้าเกินกำหนด ฟิวส์ที่ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์มีหลายรูปแบบ

            การเลือกฟิวส์ใช้งานต้องเลือก ดังนี้
                1.  ความสามารถในการทนกระแสและแรงดันไฟฟ้า
                2.  การทนกระแสลัดวงจรของฟิวส์
                3.  คุณสมบัติของฟิวส์ เช่น อุณหภูมิ รูปร่าง ขนาดยึดตัวฟิวส์ กระบอกฟิวส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น