ขอขอบคุณข้อมูลจาก arip

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การแผนงานสำหรับการทำเว็บ

1. กำหนดเป้าหมายและวางแผนงาน

ก่อนที่เราจะลงมือสร้างเว็บไซต์ของตัวเองนั้น ควรมีการกำหนดเป้าหมาย และวางแผนงานก่อน เพื่อให้เห็นภาพลักษณะเว็บไซต์ที่เราอยากจะทำได้ชัดเจนขึ้น
สิ่งที่เราต้องทำในขั้นตอนนี้มีอะไรบ้าง
1.1 กำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์
1.2 กำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย
1.3 กำหนดขอบเขตเนื้อหา และรวบรวมข้อมูลเนื้อหา
1.4 เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็น
1.5 เตรียมทักษะและบุคลากร
1.6 ประมาณการค่าใช้จ่าย

กำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์

1) ทำไมคุณอยากจะมีเว็บไซต์ มีเป้าหมายอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า ?

เพื่อประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร, แบ่งปันความรู้, ทำธุรกิจออนไลน์ ขายสินค้าหรือบริการ, เป็น community กับเพื่อนและครอบครัว  …
ถ้าคุณคาดหวังจะสร้างรายได้จากเว็บไซต์ enjoyday.net จะไม่ได้เน้นในเรื่องนี้  คุณสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์อื่นๆ ที่มีให้อ่านมากมายค่ะ 

2) อยากทำเว็บไซต์เกี่ยวกับเรื่องอะไร ?

ถ้าอยากทำเว็บไซต์ แต่ยังไม่รู้จะทำเรื่องอะไรดี แนะนำให้ทำเรื่องที่เรามีความรู้มีความชำนาญ หรือมีความสนใจในเรื่องนั้นๆ เป็นพิเศษ จะทำให้เราทำเนื้อหาของเว็บไซต์ได้ดี ทำเสร็จก็ได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ เพิ่มขึ้นด้วย
.

3) อยากให้เว็บไซต์มีลักษณะเป็นอย่างไร?

- เป็น website ที่รวบรวมความรู้และเป็นแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ บันเทิง กีฬา หรือเป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าหรือบริการต่างๆ
ตัวอย่าง เว็บไซต์ต่างๆ
http://thai.tourismthailand.org (เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
http://www.loveyoueveryday.com (เว็บร้านขายดอกไม้ ตุ๊กตา ของขวัญ ออนไลน์)
http://www.dhammajak.net (เว็บธรรมะออนไลน์)
.
- เป็น web blog ที่มีลักษณะเป็นการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงในเว็บไซต์ เนื้อหาของ blog ครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้คนอ่าน สามารถ comment ข้อความต่อท้ายในเรื่องที่เรา post ได้
ตัวอย่างเว็บ blog
kengzz  (blog คุณเก่ง เป็นบล็อกส่วนตัว นำเสนอเรื่องราวที่พบเจอ)
iDayBlog    (blog คุณเดย์ แนะนำการทำ blog)
songchaiblog   (blog คุณต๊ะ เขียนบทความเฉพาะด้าน สอนทำมาหากินบนโลกออนไลน์)
โดยมากแล้ว เจ้าของ blog มักเขียนเรื่องราวส่วนตัวที่ได้พบเจอลงไปด้วยค่ะ
ถ้าอยากจะมี blog  สามารถสมัครใช้งานฟรีได้จากผู้ให้บริการฟรี Blog ได้แก่
http://www.exteen.com (ของไทย)
http://www.bloggang.com (ของไทย)
https://www.blogger.com
http://www.myspace.com
http://www.livejournal.com
http://wordpress.com
ตัวอย่าง web blog ที่ใช้บริการ blogger.com
http://promote-web.blogspot.com
หรือถ้าอยากมี Blog เป็นของตัวเอง ก็สามารถทำเองได้ โดยใช้ติดตั้งระบบจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ ประเภท Blog เช่น  WordPress เหมือนกับที่ enjoyday.net แห่งนี้ค่ะ
.
- เป็น webboard เป็นกระดานข่าว สามารถตั้งกระทู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ได้ หรือจะให้ webboard เป็นส่วนหนึ่งใน website ของคุณก็ได้ค่ะ
ตัวอย่าง
http://www.thaiseoboard.com

กำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย

1) ผู้ชมกลุ่มไหนที่เราคาดหวังให้มาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ?

เราควรทราบว่ากลุ่มผู้ชมของเว็บไซต์เป็นใคร เพื่อจะได้ออกแบบเว็บไซต์ เลือกเนื้อหา โทนสี กราฟฟิก และเทคโนโลยีที่นำมาสนับสนุน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น
ถ้าผู้ชมเป็นกลุ่มวัยรุ่น ก็ควรจะออกแบบให้มีสีสันสดใส ใช้ภาพกราฟฟิกดึงดูดให้น่าสนใจ
ถ้าผู้ชมเป็นกลุ่มผู้ที่สนใจธรรมะ ก็ควรออกแบบให้ดูเรียบง่าย ถ้าฉูดฉาดเกินไป คงรู้สึกขัดๆ.


2) อยากให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมได้รับอะไรกลับไป

ข้อมูล ข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิง ของแจกฟรี เป็นต้น   แต่ถ้าเป็นเว็บขายสินค้าหรือบริการ ต้องคิดว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการอะไร.



3) อยากให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมทำอะไรหลังจากมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ?

ต้องการให้กลับมาเยี่ยมเว็บไซต์ของคุณอีก ให้สั่งซื้อสินค้าหรือบริการในเว็บไซต์ เป็นต้น

กำหนดขอบเขตเนื้อหา และรวบรวมข้อมูลเนื้อหา

เกี่ยวกับเรื่องที่คุณอยากทำเว็บไซต์ ให้ลิสต์ว่ามีข้อมูลเนื้อหาอะไรบ้างที่คุณอยากให้มี หรือควรจะมี อยู่ในเว็บไซต์    มีการใช้งานที่จำเป็นอะไรบ้าง เช่น webboard, chat, ระบบสมาชิก, ระบบตระกร้าซื้อของ เป็นต้น
ลองเข้าไปดูเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทำเรื่องเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเรื่องที่คุณอยากจะทำ เพื่อดูเป็นแนวทาง
นอกจากเนื้อหาหลักของเว็บไซต์ เช่น ข้อมูลข่าวสาร, รายละเอียดสินค้าหรือบริการ, วิธีซื้อสินค้า แล้ว ควรเพิ่มเติม
  • หน้าข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท องค์กร หรือผู้จัดทำ (About us) : บอกเจ้าของเว็บไซต์, วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์, ประวัติความเป็นมา เป็นต้น
  • หน้าข้อมูลในการติดต่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ แผนที่ (Contact Information) : ส่วนนี้จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์
  • เพิ่มเติมเกี่ยวกับส่วนค้นหาข้อมูล, แผนผังเว็บไซต์ (Sitemap) : เพื่อช่วยให้ผู้ชมค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
  • หน้ารับข้อเสนอแนะ (Feedback) : เพื่อนำไปปรับปรุงเว็บไซต์ สินค้า หรือการให้บริการ
  • คำถามที่ถูกถามบ่อย (FAQ – Frequently Asked Questions) : รวบรวมคำถามที่ผู้ชมมักจะถามบ่อยๆ ไว้ เพื่อประหยัดเวลาทั้งคนถาม-คนตอบ
เมื่อกำหนดขอบเขตเนื้อหาเสร็จแล้ว ให้วางแผนต่อว่าข้อมูลมาจากแหล่งใดได้บ้าง จะจัดเตรียมได้อย่างไร เช่น เป็นข้อมูลที่เราคิดและนำเสนอเอง หรือนำข้อมูลมาจากสื่ออื่น เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ แมกกาซีน เว็บไซต์   ดูด้วยว่าจะต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนหรือเปล่า เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์
จากนั้นก็รวบรวมข้อมูลเนื้อหา, ไฟล์รูปภาพ, ไฟล์เสียง หรือไฟล์ดีวีโอ  และอื่นๆ ที่จะใช้ในเว็บไซต์เตรียมไว้
.
ตัวอย่าง ถ้าอยากจะทำเว็บไซต์สอนทำอาหารไทย ก็ให้ลิสต์รายการอาหารที่เราอยากแนะนำวิธีการทำ ซึ่งเนื้อหาหลักของเว็บสอนทำอาหารที่จะต้องมี คือ อุปกรณ์ที่ใช้, วัตถุดิบ เครื่องปรุง และวิธีการทำอาหาร
แล้วถ้าจะให้ละเอียด และเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น ก็แนะนำวิธีการเลือกวัตถุดิบ, ร้านค้าที่ขายวัตถุดิบ, เทคนิคการทำอาหาร เป็นต้น
ที่สำคัญ คือ รูปภาพประกอบ  เช่น รูปภาพเครื่องปรุง, รูปภาพขณะทำอาหาร และรูปภาพอาหารที่ทำเสร็จแล้ว จะทำให้เว็บเราดูมีสีสัน น่าสนใจมากขึ้น  แล้วถ้าทำเป็นวีดีโอสอนดูผ่านเว็บได้ ยิ่งเลิศใหญ่เลยค่ะ ^^
เพิ่ม webboard ให้ผู้ที่เยี่ยมชมเข้ามาถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการทำอาหารกัน
และถ้าจะทำธุรกิจออนไลน์ ขายอุปกรณ์ และเครื่องปรุง วัตถุดิบ ในการทำอาหารบนเว็บไซต์ด้วย ก็ต้องมีหน้ารายละเอียดสินค้า วิธีการสั่งซื้อ วิธีการชำระ เป็นต้น
เมื่อกำหนดขอบเขตเนื้อหาได้แล้ว ก็รวบรวมข้อมูลต่างๆ เช่น วิธีทำอาหาร, รูปภาพอาหาร ถ้าข้อมูลที่มีอยู่ยังมีไม่ครบถ้วน ให้จัดเตรียมให้เรียบร้อย เช่น ถ้ายังไม่มีรูปภาพ ก็หาสแกนเพิ่ม หรือถ่ายรูปเพิ่ม เป็นต้น

เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็น

จัดเตรียมอุปกรณ์ หรือเครื่องมือช่วยงาน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล
จัดหาโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ เช่น
  • โปรแกรมสำหรับพัฒนาเขียนเว็บเพจ เช่น EditPlus :ลิงค์ออก: , Adobe Dreamweaver
  • โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ เช่น Adobe Photoshop และ ImageReady
  • โปรแกรม FTP สำหรับ upload file จากเครื่องคอมพิวเตอร์เราไปเครื่อง Server (เช่น WS_FTP, FileZilla :ลิงค์ออก: สามารถหา download มาใช้ได้ฟรี)
  • โปรแกรมอื่นๆ เช่น SnagIT สำหรับ Capture รูปภาพหน้าจอ ทำให้สะดวกเวลาเราต้องการ Capture รูปภาพ เพื่อแนะนำการใช้งานโปรแกรม หรืออื่นๆ

ประมาณการค่าใช้จ่าย

ในการทำเว็บไซต์คงต้องดูงบประมาณเงินที่คุณมีด้วยค่ะ ค่าใช้จ่ายอาจมีอะไรได้บ้าง
  • ถ้าคุณสมัครใช้ Free Hosting/Blog ก็ตัดค่าเช่า Host และค่าจด Domain Name ไป
    .
  • ค่าจด Domain Name (ชื่อ เว็บไซต์) ประมาณ 300-600 บาท ต่อปี ถ้าจ่ายรวดเดียวหลายๆ ปี อาจมีส่วนลด หรือผู้ให้บริการ Web Hosting บางเจ้า ถ้าเราเช่าพื้นที่ host ของเขา ก็จด Domain Name ให้เราฟรีไปเลยก็มีค่ะ
    .
  • ค่าเช่า Web Hosting (พื้นที่ฝากเว็บไซต์)  ราคาขึ้นกับขนาดพื้นที่, ปริมาณข้อมูลเข้า-ออก (Data Transfer), จำนวนฐานข้อมูลที่ให้ใช้ได้, จำนวน E-mail และ option ต่างๆ โดยปกติผู้ให้บริการ Web Hosting จะจัดเป็น package ขนาดพื้นที่ต่างๆ เอาไว้ให้ลูกค้าเลือกอยู่แล้ว   เช่น
Package Small : พื้นที่ 100 MB, Data Transfer 1,000 MB, MySQL Database ได้ 1 DB และมี E-Mail Address ได้ 5 email ราคา 900 บาท/ปี
Package Normal : พื้นที่ 750 MB, Data Transfer 8,000 MB, MySQL Database ได้ Unlimited และมี E-Mail Address ได้ Unlimited ราคา 2700 บาท/ปี หรือ 250 บาท/เดือน เป็นต้น
Data Transfer (Bandwidth) คือ ปริมาณการโอนถ่ายข้อมูล จากการ upload ไฟล์ของคุณขึ้น Server และจากการ download เรียกดูเว็บเพจจากผู้ชม   ถ้าเราใช้เกินที่กำหนดในเดือนนั้น จะต้องเสียค่าบริการเพิ่ม  แต่ Web Hosting บางเจ้าก็ให้ใช้แบบไม่จำกัดค่ะ
.
จะเลือกใช้ Package ไหน ต้องประเมินจากเว็บไซต์ของเราว่าต้องการพื้นที่มากน้อยแค่ไหน ถ้าใช้ไฟล์พวกกราฟฟิก ไฟล์เพลง ไฟล์วีดีโอมาก ก็จะใช้พื้นที่มาก และกิน Data Transfer มาก   อีกปัจจัยคือผู้ชมมากและเข้าบ่อยหรือเปล่า
ส่วนการคิดค่าบริการมีหลายแบบ เช่น จ่ายรายเดือน หรือจะจ่ายรวดเดียว 1 ปี  การจ่ายแบบรายปี มักจะได้ส่วนลด ทำให้ถูกกว่าการจ่ายทีละเดือนรวมกัน 12 เดือน ค่ะ
เดี๋ยวนี้บางเจ้าให้พื้นที่หลาย GB  และ Data Transfer แบบไม่จำกัด ในราคาแค่ 1,000 บาท/ปี
.
  • ค่าพัฒนาเว็บไซต์ อันนี้ ขึ้นกับความพร้อมของคุณที่จะทำเว็บไซต์ด้วยตัวเอง หรือว่าจะจ้างคนอื่นทำ หรือว่าบางส่วนคุณทำเอง บางส่วนจ้างคนอื่นทำถ้าอยากจะทำเองแต่ยังไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือเปล่า อยากให้ลองศึกษาบทความใน enjoyday.net ดูก่อนค่ะ    หลังจากนั้น ถ้าคิดว่ารู้มากพอที่ลองทำแล้ว เราก็อาจจะเลือกที่จะทำเอง มันไม่ยากเกินไปหรอกค่ะ    เพราะปัจจุบันนี้มี Software Open Source ที่เป็นโปรแกรมเว็บไซต์สำเร็จรูป (Web CMS) ให้ดาวน์โหลดมาใช้กันฟรีๆ มากมาย เช่น ถ้าจะทำเว็บไซต์ก็ใช้ Joomla, ถ้าจะทำ Blog ก็ใช้ WordPress,  ส่วน webboard ก็ใช้ phpBB, SMF   ถ้าอยากได้พวกตัวนับสถิติผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ (Web stat) ก็สามารถสมัครใช้ฟรีจาก stats.in.th หรือจะสมัครใช้บริการ Google Analytics (http://www.google.com/analytics/) ก็ได้ค่ะ   การทำเว็บไซต์ด้วยตัวเองนับเป็นเรื่องที่สนุกอย่างหนึ่งค่ะ :ระรื่น:     โดยตอนเริ่มต้นจะใช้เวลามากหน่อย สู้ๆ
    .
  • ค่าโฆษณาโปรโมทเว็บไซต์ เช่น การลงโฆษณาแบบ Pay Per Click (Adwords)  หรือถ้าไม่อยากเสียค่าใช้จ่าย ลองทำ SEO (Search Engine Optimization) ด้วยตนเองดูค่ะ     การทำ SEO นั้นหมายถึง การจัดทำ ปรับปรุงเว็บไซต์ด้วยเทคนิคต่างๆ เพื่อให้เว็บไซต์ของเราถูกค้นหา เจอติดอันดับต้นๆ หรือหน้าแรก ของ เว็บ Search Engine เช่น  google.com, yahoo.com, bing.com  แล้ว traffic หรือจำนวนคนเข้าเว็บจะตามมาอย่างมากมาย …
    .
  • ค่าจ้างเขียนเนื้อหาในเว็บ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น